วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบไหลเวียบโลหิต

       ระบบไหลเวียนโลหิต เป็นระบบที่นำสารเข้าและออกจากเซลล์ สามารถช่วยในการรักษาระดับอุณหภูมิ ความเป็นกรด-เบส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาดุลยภาพของร่างกาย ระบบไหลเวียนโลหิตในสิ่งมีชีวิตแบ่งได้เป็น 3 ประเภท เรียงตามลำดับจากเรียบง่ายไปจนถึงซับซ้อนที่สุดดังนี้ ส่วนประกอบสำคัญของระบบไหลเวียนโลหิต: หัวใจ,เลือด,และเส้นเลือด ระบบไหลเวียนโลหิตยังรวมไปถึง pulmonary circulation คือ ระหว่างหัวใจและปอด และ systemic circulation คือระหว่างหัวใจและร่างกาย

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

ระบบขับถ่าย
        ร่างกายมนุษย์มีกลไกต่าง ๆ คล้ายเครื่องยนต์ ร่างกายต้องใช้พลังงาน การเผาผลาญพลังงานจะเกิดของเสีย ของเสียที่ร่างกายต้องกำจัดออกไปมีอยู่ 2 ประเภท
  1. สารที่เป็นพิษต่อร่างกาย
  2. สารที่มีปริมาณมากเกินความต้องการ
        ระบบการขับถ่าย เป็นระบบที่ร่างกายขับถ่ายของเสียออกไป ของเสียในรูปแก๊สคือลมหายใจ ของเหลวคือเหงื่อและปัสสาวะ ของเสียในรูปของแข็งคืออุจจาระ
  • อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแข็งคือ ลำไส้ใหญ่(ดูระบบย่อยอาหาร)
  • อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแก๊สคือ ปอด(ดูระบบหายใจ)
  • อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของเหลวคือ ไต และผิวหนัง
  • อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปปัสสาวะ ได้แก่ ไต หลอดไต กระเพาะปัสสาวะ
  • อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปเหงื่อ คือผิวหนัง ซึ่งมีต่อมเหงื่ออยู่ในผิวหนังทำหน้าที่ขับเหงื่อ

 การขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่

        การย่อยอาหารซึ่งจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 5 ฟุต ภายในมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 นิ้ว เนื่องจากอาหารที่ลำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็นของเหลวหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ครึ่งแรกคือดูดซึมของเหลว น้ำ เกลือแร่และน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ในกากอาหาร ส่วนลำไส้ใหญ่ครึ่งหลังจะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง ลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหลอลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนไปตามลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไป เนื่องจากกากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็ง เกิดความลำบากในการขับถ่าย ซึ่งเรียกว่า ท้องผูก
ภาพ:ลำไส้ใหญ่.JPG
สาเหตุของอาการท้องผูก
  1. กินอาหารที่มีกากอาหารน้อย
  2. กินอาหารรสจัด
  3. การถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลาหรือกลั้นอุจจาระติดต่อกันหลายวัน
  4. ดื่มน้ำชา กาแฟ มากเกินไป
  5. สูบบุหรี่จัดเกินไป
  6. เกิดความเครียด หรือความกังวลมาก
         โดยปกติ กากอาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ประมาณวันละ 300-500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งจะทำให้เกิด อุจจาระประมาณวันละ 150 กรัม

 การขับถ่ายของเสียทางปอด

        เราได้ทราบจากเรื่องระบบหายใจแล้วว่า ปอดคืออวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ น้ำ และ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วจะออกจากเซลล์แพร่เข้าไปในเส้นเลือด แล้วลำเลียงไปยังปอดเกิดการแพร่ของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ถุงลมปอดแล้วเคลื่อนผ่านหลอดลมออกจาก ร่างกายทางจมูก

 การขับถ่ายของเสียทางไต

        จากระบบการหมุนเวียนโลหิต เลือดทั้งหมดในร่างกายจะต้องหมุนเวียนผ่านไต โดยนำสารทั้งที่ยังมีประโยชน์และสารที่ไม่มีประโยชน์แล้วมาที่ไต ของเสียจะถูกไตกำจัดออกมาในรูปปัสสาวะ
ภาพ:ของเสียทางไต.JPG
         ไต มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว มีอยู่ 2 ข้าง ติดอยู่กับด้านหลังของช่องท้องยาวประมาณ 11 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร ตรงกลางเว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ ภายในไตมีหน่วยไตเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก
        กระบวนการขับถ่าย เริ่มจากหลอดเลือดที่นำเลือดมาจากหัวใจ เลือดและสารที่มากับเลือดจะถูกส่งเข้าหน่วยไต หน่วยไตจะกรองสารที่มีอยู่ในเลือด สารที่ยังมีประโยชน์จะถูกหน่วยไตดูดซึมกลับคืนมา ส่วนของเสีย อื่น ๆ จะถูกส่งไปตามหลอดไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะซึ่งมีความจุประมาณครึ่งลิตร
        ในวันหนึ่ง ๆ คนเราจะขับถ่ายปัสสาวะออกมาประมาณ 1-1.5 ลิตร ปริมาณการขับถ่ายในแต่ละวันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
  • ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
  • ชนิดของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น แตงโม เหล้า ทำให้การขับถ่ายปัสสาวะมากขึ้น
  • การเสียน้ำของร่างกายทางอื่น

 การขับถ่ายของเสียทางผิวหนัง

        ในผิวหนังของคนเราสามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ซึ่งสิ่งที่ถูกขับออกมาคือ เหงื่อ
ภาพ:ผิวหนัง.JPG
        เหงื่อที่ถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อ ในเหงื่อประกอบด้วยน้ำประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์ สารอื่น ๆ อีก 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นพวกเกลือโซเดียมคลอไรด์ สารอินทรีย์ พวกยูเรีย และมีน้ำตาล แอมโมเนีย กรดแลคตริก และกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย
        ประโยชน์ของการระเหยของเหงื่อ คือ เป็นการปรับระดับอุณหภูมิของร่างกาย โดยระบายความร้อนไปกับเหงื่อที่ระเหย ปริมาณเหงื่อที่ถูกขับออกมาจะเกิดขึ้นได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 32 องศาเซลเซียส

 ประโยชน์ของการขับถ่ายของเสียต่อสุขภาพ

        การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียร่างกายและช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอบด้วย ไต ตับและลำไส้ เป็นต้น การปฏิบัติตนในการขับถ่ายของเสียให้เป็นปกติหรือกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ เราไม่ควรให้ร่างกายเกิดอาการท้องผูกเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักได้
        การปัสสาวะ ถือเป็นการขับถ่ายของเสียประการหนึ่ง ที่ร่างกายเราขับเอาน้ำเสียในร่างกายออกมาหากไม่ขับถ่ายออกมาหรือกลั้นปัสสาวะไว้นานๆ จะทำให้เกิดเป็นโรคนิ่วในไตหรือทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบได้
        การดื่มน้ำ การรับประทานผักผลไม้ทุกวัน จะช่วยให้ร่างกายขับถ่ายได้สะดวกขึ้น การดื่มน้ำและรับประทานทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารเป็นประจำจะทำให้ร่างกายขับถ่ายของเสียอย่างปกติ

 การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะในระบบขับถ่าย

  1. ดื่มน้ำสะอาดวันละมาก ๆ รับประทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ
  2. ไม่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ
  3. ควรอาบน้ำชำระร่างกายทุกวัน
  4. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  5. ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรีบปรึกษาแพทย์
คุณธรรม 8 ประการ
๑) ขยัน
      ขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ อดทน ความขยันต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญา แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จ
      ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรเป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง

๒) ประหยัด
        ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของแต่พอควรพอประมาณ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ
      ผู้ที่มีความประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ

๓) ความซื่อสัตย์
     ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรงไม่เอนเอียงไม่มีเล่ห์เหลี่ยมมีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียง
หรืออคติ
    ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง

๔) มีวินัย
       มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม
      ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฏ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ

๕) สุภาพ
     สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ
    ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย

๖) สะอาด
     สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
     ผู้ที่ความสะอาด คือ ผุ้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัยสิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว จึงมีความแจ่มใสอยู๋เสมอ
๗) สามัคคี
     สามัคคี คือ ความพร้อมเพียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุ ผลตามที่ต้องการเกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์
     ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ

๘) มีน้ำใจ
     มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจเห็นคุณค่าในเพื่อน มนุษย์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน
     ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผุ้อาสาช่วยเหลือสังคสม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่นเข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

ไต (Kidney)

ส่วนประกอบของหน่วยไต 
 
หน่วยไตประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้         
 
 
1.  โบว์แมนส์แคปซูล  (Bowman’s capsule) อยู่ในเนื้อไตชั้นนอก เป็นส่วนที่มีลักษณะคล้ายถ้วยมีผนังบางๆ2 ชั้น ภายในมีกระจุกเส้นเลือดฝอยโกลเมอรูลัส        
 
 
 2.  โกลเมอรูลัส(glomerulus) เ ป็นกระจุกเส้นเลือดฝอยต่อจากเส้นเลือดแดงที่เข้าไต(renal artery) อยู่ภายในโบว์แมนส์แคปซูล     
 
   
                
ส่วนที่เป็นกรบกลมๆทั้งหมดเราจะเรียกรวมว่า Bowman’s capsule ส่วยเส้นเลือดสีแดงๆที่ขดอยู่นั่นก็คือ glomerulusนั่นเองจ้า      
 
 
 3.   ท่อของหน่วยไต (convoluted tubule) แบ่งเป็น
3.1  ท่อขดส่วนต้น(proximal convoluted tubule)
3.2  ห่วงเฮนเล(loop of Henle)
 3.3  ท่อขดส่วนท้าย (distal convoluted tubule) ซึ่งปลายท่อขด  ส่วนท้ายจะเปิดร่วมกันที่ท่อรวม(collecting tubule)                      
                                                 


การทำงานของหน่วยไต
        หน่วย ไตแต่ละหน่วยทำหน้าที่กรองของเสียจากเลือด ซึ่งเลือดจาเซลล์ต่างๆทั่วร่างกายมีสารที่เป็นของเสียจากเมแทบอลิซึมจะเข้า สู่ไตทางเส้นเลือดรีนัลอาร์เทอรี(renal artery) เส้น เลือดนี้จะแตกแขนงนำเลือดเข้าสู่โกลเมอรูลัสที่อยู่ในโบว์แมนส์แคปซูล ผนังของเส้นเลือดฝอยของโกลเมอรูลัสทำหน้าที่เป็นเยื่อกรองให้สารบางอย่างจาก โกลเมอรูลัสเข้าสู่โบว์แมนส์แคปซูลและเข้าสู่ท่อหน่วยไตตามลำดับ แรงดันของเลือดทำให้น้ำเลือดสามารถลอดผ่านผนังเส้นเลือดฝอยที่โกลเมอรูลัส ได้ ของเหลวที่กรองได้ (glomerular filtrate) จะไหลไปตามท่อ ของหน่วยไตและมีการดูดสารที่มีประโยชน์ เช่น กลูโคส กรดอะมิโน โซเดียมไอออน น้ำ กลับคืนสู่เส้นเลือดฝอยที่หน่วยไต กระบวนการดูดกลับมีทั้งที่ไม่ต้องใช้พลังงาน เช่น น้ำ กลูโคส กระอะมิโน และต้องใช้พลังงาน เช่น แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายจะถูกดูดกลับเข้าสู่